เส้นเลือดขอด อาการเส้นเลือดขอด พร้อมวิธีรักษา

เส้นเลือดขอด

อาการของเส้นเลือดขอด ที่เกิดขึ้นนั้น แท้จริงแล้ว เกิดจาก เส้นเลือดดำส่วนหนึ่งที่อยู่ใต้ผิวหนังนั้น เกิดมีการเสียความยืดหยุ่น จนทำให้เกิดมีการเส้นเลือดขยายตัว ซึ่งสามารถเกิดขึ้นทั้งด้านกว้างและด้านยาว ทำให้คดเคี้ยวไปมา ซึ่งนั่นอาจจะทำให้เกิดลักษณะที่เหมือนตัวหนอนหรือไส้เดือนมาอยู่ใต้บริเวณผิวหนังของเรา และเส้นเลือดขอดนั้น สามารถเกิดขึ้นกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งก็แล้วแต่สาเหตุกันไป

เช่น ส่วนสาเหตุที่เกิดจากการที่หลอดอาหารต่อกัน ระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร เส้นเลือดขอดของหลอดอาหารนี้ ส่วนใหญ่มันจะเป็นพยาธิ สภาพที่เกิดจากมีตับแข็ง และทำให้เกิดเป็นความดันในระบบช่องท้องสูงขึ้น นั่นก็อาจจะทำให้มีเส้นเลือดขอดเกิดขึ้นบริเวณข้อต่อของอาหารและกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ส่วนอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น บริเวณแขน บริเวณขา บริเวณน่อง หรือ บริเวณเท้า

ส่วนการเกิดเส้นเลือกขอดที่ขา อาจจะเป็นเพราะหลอดเลือดดำที่บริเวณขา ที่มีหน้าที่นำเลือดดำออกจากเท้ากลับสู่หัวใจ มีการบีบเลือดต้านแรงโน้มถ่วงของโลก โดยมีลิ้นเล็กๆในหลอดเลือดดำช่วยเปิดให้เลือดไหลขึ้นไปที่หัวใจ และปิดกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับลงไปที่เท้า แต่แล้วก็เกิดความผิดปกติของลิ้นเล็กๆดังกล่าว ที่ดันไม่สามารถทำการปิดกั้นการไหลย้อนกลับของเลือดได้ ทำให้เลือดไหลย้อนลงมาคั่งอยู่ในหลอดเลือดดำส่วนปลาย ซึ่งนั่นก็จะทำให้เห็นเป็นหลอดเลือดที่โป่งพอง สีคล้ำ ซึ่งนั้นก็จะกลายเป็นเส้นเลือดขอด ซึ่งสามารถเป็นได้ตั้งแต่บริเวณตาตุ่มไปจนถึงต้นขานั่นเอง

เส้นเลือดฝอยที่ขา
อาการเส้นเลือดฝอยที่ขา

เส้นเลือดฝอยที่ขา

เส้นเลือดฝอยที่ขานั้น จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับเส้นเลือดขอด แต่ขนาดเล็กกว่ามาก มักจะเป็นสีแดง สีเขียว หรือสีออกม่วง นั่นก็เพราะเป็นกับเส้นเลือดดำที่อยู่ตื้นใต้ผิวหนัง ซึ่งมีความแตกต่างกับเส้นเลือดขอดที่มักจะเป็นเส้นเลือดดำขนาดใหญ่ปานกลางไปจนถึงใหญ่มาก เราสามารถพบการเกิดได้ทุกที่แต่ส่วนที่พบบ่อยนั้น ได้แก่ ใบหน้า ต้นขา และน่อง

สาเหตุของเส้นเลือดขอด
สาเหตุของเส้นเลือดขอด

สาเหตุของเส้นเลือดขอด

การทำกิจวัตรต่างๆเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะเป็น การยืน นั่ง กระทั่งการเดินนานๆ ก็เป็นสาเหตุหลักของอาการเส้นเลือดขอดการที่เรามีน้ำหนักมากเกิน ทำให้เกิดแรงดันสูงขึ้นภายในหลอดเลือดก็เป็นสาเหตุได้ คนที่อายุที่เพิ่มขึ้น ผนังหลอดเลือดดำจะมีความยืดหยุ่นที่น้อยลง ทำให้มีโอกาสเกิดการอุดตันของเส้นเลือดสูง ในส่วนของเพศ คุณสาวๆ มีโอกาสเป็นเส้นเลือดขอดมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า ซึ่งก็รวมไปถึงการตั้งครรภ์ เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และมดลูกที่โตขึ้น ส่งผลกระทบให้เกิดแรงดันภายในหลอดเลือดที่ขาสูงขึ้น และที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือกรรมพันธุ์ การมีประวัติครอบครัวที่เคยเป็นเส้นเลือดขอดมาก่อน ก็มีสิทธิ์ที่ลูกหลานจะสามารถเป็นได้สูง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดเส้นเลือดขอด คือ อายุที่มาขึ้นของผู้ป่วยเพราะการเสื่อมสภาพของลิ้นในเส้นเลือด ซึ่ง 70% ของคนที่ป่วยโรคนี้มีอายุ 70 ปีขึ้นไป เพศก็เป็นอีกปัจจัย เพราะผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชายประมาณ 3 เท่า  รวมไปถึงพันธุกรรมและเชื้อชาติ เรียกในอีกแง่ก็คือกรรมพันธุ์ ถ้าครอบครัวมีประวัติ ก็อาจจะหลีกเลี่ยงได้ยาก อาชีพการทำงาน ก็เป็นอีกปัจจัย เพราะการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เส้นเลือดมีเลือดคั่งมาก กลุ่มคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ในวัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงวัยทอง ก็สามารถทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้ หญิงตั้งครรภ์ เพราะการมีปริมาณของเลือดที่เพิ่มขึ้นทำให้เส้นเลือดขยายตัว ทั้งยังมีน้ำหนักของครรภ์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือกลุ่มคน ที่ท้องผูกเรื้อรัง ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย ก็สามารถทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้เช่นกัน

อาการของเส้นเลือดขอด

อาการที่พบในระยะแรกเริ่มจะมองเห็นเส้นเลือดโป่งพองและคดเคี้ยวไปมา ลักษณะเหมือนตัวหนอนหรือไส้เดือน แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณน่อง ซึ่งมักเกิดกับขาทั้งสองข้างมากน้อยแตกต่างกันไป แต่เมื่อเป็นมากขึ้นอาจทำให้มีอาการปวดหน่วงหรือปวดเมื่อยในบริเวณนั้น ๆ ถ้าเป็นรุนแรงขึ้นอาจมีผื่นคันขึ้นในบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอด

อาการของเส้นเลือดฝอยที่ขา

เส้นเลือดฝอยที่ขานั้น จะมีขนาดเล็ก ๆ สีแดง สีเขียว หรือสีออกม่วง ซึ่งสามารถพบการเกิดได้ที่บริเวณอื่นด้วยโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า

ภาวะแทรกซ้อนของเส้นเลือดขอด

มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย แต่จะส่งผลถึงความสวยงาม ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยขา รู้สึกขาล้าหรือหนัก ๆ ที่ขา มีอาการคันขาหรือเท้าโดยเฉพาะตรงข้อเท้า ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดแผลบริเวณขาและเท้าได้ง่าย หากหกล้มหรือถูกของมีคมบาดตรงบริเวณที่มีเส้นเลือดขอด อาจทำให้เกิดแผลเลือดออกรุนแรง เมื่อมีเส้นเลือดขอดเรื้อรัง สีของเท้าจะคล้ำแดงขึ้น ในรายที่เป็นรุนแรง ผิวหนังในบริเวณนั้นอาจแตกและกลายเป็นแผลเรื้อรัง และผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอาการอักเสบของเส้นเลือดดำ ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องรีบรักษาด่วน

การวินิจฉัยโรคเส้นเลือดขอด

  • แพทย์จะทำการตรวจดูว่ามีการไหลย้อนกลับของเส้นเลือดดำหรือไม่
  • การตรวจดูว่ามีการอุดตันของเส้นเลือดดำหรือไม่
  • การตรวจภาพเส้นเลือดและการไหลเวียนเลือดด้วยอัลตราซาวนด์
  • การตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า หากสงสัยว่ามีความผิดปกติของเส้นเลือดดำส่วนลึก
  • การฉีดสีเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดแล้วเอกซเรย์ดูลักษณะของเส้นเลือด
  • การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) เพื่อดูการทำงานของเกล็ดเลือด

การรักษาเส้นเลือดขอด

การรักษาเส้นเลือดขอดแบบไม่ต้องผ่าตัด เป็นการเฝ้าระวังอาการและป้องกันไม่ให้อาการเป็นมากขึ้น การรักษาด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็กมากหรือเป็นเส้นเลือดฝอยที่ขาขนาดเล็ก ๆ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่า

การฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดเพื่อให้เส้นเลือดตีบตัน สามารถรักษาได้ทั้งเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอยที่ขา โดยจะเป็นการฉีดยา ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการทำลายผนังของเส้นเลือดขอด

https://www.youtube.com/watch?v=oew07H7tywA

การผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออก เป็นวิธีการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยจะเป็นการผ่าตัดดึงเอาเส้นเลือดที่ขอดออกไปตลอดทั้งเส้นเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำอีก วิธีนี้จะเหมาะสำหรับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่และมีขนาดยาวมาก ๆ และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่ขอดได้

การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยเลเซอร์ เป็นการรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร (Nd:YAG laser) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทำให้ไม่เกิดบาดแผลและไม่มีแผลเป็น สามารถรักษาเส้นเลือดขอดได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึง การรักษาด้วยเลเซอร์แบบพิเศษที่มีช่วงคลื่นต่ำ, การรักษาเส้นเลือดขอดโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ, ยารับประทานบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด

รักษาเส้นเลือดขอด ด้วย โยคะ

เป็นอีกหนึ่งวิธีสำหรับคนที่ไม่อยากเสียเงินเยอะ และไม่อยากเจ็บตัว การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยวิธีการเล่นโยคะ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเอามากๆ

https://www.youtube.com/watch?v=-bhtCHXDwPI

การป้องกันเส้นเลือดขอด

เรายังจะไม่สามารถป้องกันเส้นเลือดขอดหรือเส้นเลือดฝอยที่ขาได้อย่าง 100% แต่ก็สามารถลดการเกิดเส้นเลือดขอดใหม่ได้ ซึ่งก็สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ คือ

หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ทำการออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ต้องมีการควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น และไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานที่สำคัญลดการรับประทานอาหารเค็มเพื่อป้องกันอาการบวม และต้องรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อเป้นการดูแลสุขภาพของตัวคุณเอง

บทความการรักษาอาการเส้นเลือดคอด นี้หวังจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆทุกคนที่เข้ามาหาข้อมูลกันนะครับ สามารถ หารายละเอียดเพิ่มเติม ลองพิมพ์ใน. GG เส้นเลือดขอด pantip  ดูอาจจะได้คำตอบที่ดี